พระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. ๒๕๕๘
เพื่อให้เป็นไปตามกฏหมายดังกล่าว สมาชิกทุกท่านต้องอ่านทำความเข้าใจและปฏิบัติตามอย่างเคร่งคัด
เข้าสู่ระบบ
หน้าแรก
เก้าสิบเก้าวัด
ร้านพระเครื่อง
กระดานสนทนา
สมัครสมาชิก
ติดต่อทีมงาน
ค้นหาข้อมูล
เข้าสู่ระบบ
พระสมเด็จปิลันท...
พระสมเด็จปิลันทน์ พิมพ์ซุ้มประตู
พระพุทธบาทปิลันทน์” หรือ “พระสมเด็จปิลันทน์” ขนานนามตามชื่อผู้สร้างคือ หม่อมเจ้าพระพุทธบาทปิลันทน์ (ทัด) ลูกศิษย์ใกล้ชิดในท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) และเป็นรูปเดียวที่ได้รับความไว้วางใจให้ปกครองดูแลวัดแทน สืบต่อมาท่านได้จำเริญในสมณศักดิ์ จนครั้งสุดท้ายดำรงสมณศักดิ์เป็นที่ "หม่อมเจ้าพระสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัด)" เทียบเท่ากับพระอาจารย์ เมื่อครั้งหม่อมเจ้าพระพุทธบาทปิลันทน์ (ทัด) ได้ครองวัดระฆังฯ ในราวปี พ.ศ.2407 ท่านดำริสร้างพระพิมพ์ให้ครบ 84,000 องค์ ตามจำนวนพระธรรมขันธ์ตามคติโบราณนิยม ส่วนหนึ่งเพื่อแจกผู้มีจิตศรัทธาไว้เป็นเครื่องคุ้มครองป้องกันภยันตราย อีกส่วนหนึ่งเพื่อบรรจุไว้ในพระสถูปเจดีย์เพื่อเป็นพุทธบูชาและสืบสานพระบวรพุทธศาสนา โดยสร้างเป็น ‘พระพิมพ์เนื้อผงใบลานเผา’ รูปแบบและพิมพ์มีความประณีตงดงามด้วยฝีมือช่างหลวงหรือช่างสิบหมู่ ทั้งยังได้รับความอนุเคราะห์จากพระอาจารย์ คือ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) มอบมวลสารพระสมเด็จวัดระฆังฯ รวมทั้ง "ผงปถมัง" ให้เป็นส่วนผสม นอกจากนี้ยังเมตตาร่วมอธิษฐานจิตปลุกเสกด้วยพระคาถาชินบัญชรอันทรงคุณวิเศษ จึงได้เรียกขานกันในอีกนามหนึ่งว่า “พระเครื่องสองสมเด็จ” ดังนั้น ด้านพุทธคุณล้วนปรากฏเป็นที่ประจักษ์ว่า สูงส่งเทียบเท่าพระสมเด็จฯ ของพระอาจารย์ทีเดียว จากมีผู้เข้าไปเจาะกรุพระเจดีย์ เพื่อหวังทรัพย์สินของมีค่าเท่านั้น ไม่ประสงค์ในพระเครื่อง ท่านเจ้าคุณพระธรรมทานาจารย์ (แนบ สิงหเสนี) ซึ่งอยู่ที่หอไตรฯ ในสระ ซึ่งเป็นเจ้าคณะและควบคุมดูแลในพระอุโบสถในขณะนั้น จึงให้นำพระเครื่องทั้งหมดมาเก็บไว้ในหอไตรฯ จนเมื่อเกิดสงครามอินโดจีน ท่านจึงนำพระเครื่องส่วนหนึ่งมอบให้แก่กระทรวงกลาโหม เพื่อแจกจ่ายแก่ทหารที่จะออกไปปฏิบัติราชการในสนามรบ จนปรากฏพุทธคุณเป็นที่เลื่องลือ พระพุทธบาทปิลันทน์ สามารถแบ่งพิมพ์ทรงออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ โค้งมนแบบเล็บมือ และ รูปทรงสี่เหลี่ยมแบบพระสมเด็จ ขอบพิมพ์และการตัดขอบข้างประณีตได้มาตรฐาน ด้านหลังมีทั้งแบบหลังเรียบและหลังนูน แบบหลังเรียบจะพบกับพิมพ์รูปทรงสี่เหลี่ยม ส่วนแบบหลังนูนจะเป็นทรงโค้งมนแบบเล็บมือ บางองค์ก็มีรอยนิ้วมือปรากฏลางๆ และบางองค์ก็มีการจารหรือลงอักขระ โดยที่พบเห็นจะจารยันต์ตัวเดียว พิมพ์ต่างๆ ของ ‘พระพุทธบาทปิลันทน์’ มีอาทิ พิมพ์ซุ้มประตู, พิมพ์ครอบแก้วใหญ่, พิมพ์เปลวเพลิง, พิมพ์โมคัลลาน์-สารีบุตร, พิมพ์หยดแป้ง และพิมพ์ปิดตา ฯลฯ ซึ่งล้วนเป็นที่นิยมสะสมในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่อง โดยเฉพาะ “พระพุทธบาทปิลันทน์ พิมพ์ซุ้มประตู” ได้รับการยกย่องให้เป็น 1 ในชุดเบญจภาคีพระเนื้อผง ด้วยความงดงามสง่าของพุทธลักษณะพิมพ์ทรง
(ที่มา: สยามรัฐ, พระพุทธบาทปิลันทน์ “พระเครื่องสองสมเด็จ”, 19 มกราคม พ.ศ. 2559)
ผู้เข้าชม
6338 ครั้ง
ราคา
15,000
สถานะ
ยังอยู่
โดย
BAINGERN
ชื่อร้าน
ใบเงินพระเครื่อง
ร้านค้า
baingern.99wat.com
โทรศัพท์
0660729463
ไอดีไลน์
0886194471
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
340-4-154xx-x
พระสมเด็จวัดระฆังเนื้อกระยาสาร
พระพิมพ์จีบบัวหลังเรียบ หลวง
พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลงทองแดง
สมเด็จวังหน้า ปรกโพธิ์หลังก้าง
เหรียญเจ้าสัวเนื้อเงิน หลวงปู่
หลวงปู่ทวด เสมาใหญ่เนื้อทองแดง
พระหลวงพ่อปาน พิมพ์ทรงขี่ไก่หา
หลวงพ่อทวด 05 หลังเตารีดพิมพ์เ
เหรียญหลวงปู่ศุข พิมพ์ปิดตา ข้
เก้าสิบเก้าวัด
ร้านพระเครื่อง
กระดานสนทนา
ลงพระฟรี
สมัครสมาชิก
ติดต่อทีมงาน
ลืมรหัสผ่าน
ผู้เข้าใช้งานล่าสุด
mon37
พีพีพระเครื่อง
NongBoss
หริด์ เก้าแสน
chaithawat
พรรษา
Muthita
Leksoi8
kaew กจ.
varavet
น้ำตาลแดง
เปียโน
Nooo
เนินพระ99
จ่าดี พระกรุ
อ้วนโนนสูง
พระเครื่องโคกมน
ทองบ้านใน
ภูมิ IR
เทพจิระ
peemoney
Poosuphan89
stp253
fuchoo18
ponsrithong2
Nithiporn
โกหมู
patcharee88
บี บุรีรัมย์
เจริญสุข
ผู้เข้าชมขณะนี้ 2027 คน
เพิ่มข้อมูล
พระสมเด็จปิลันทน์ พิมพ์ซุ้มประตู
ส่งข้อความ
ชื่อพระเครื่อง
พระสมเด็จปิลันทน์ พิมพ์ซุ้มประตู
รายละเอียด
พระพุทธบาทปิลันทน์” หรือ “พระสมเด็จปิลันทน์” ขนานนามตามชื่อผู้สร้างคือ หม่อมเจ้าพระพุทธบาทปิลันทน์ (ทัด) ลูกศิษย์ใกล้ชิดในท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) และเป็นรูปเดียวที่ได้รับความไว้วางใจให้ปกครองดูแลวัดแทน สืบต่อมาท่านได้จำเริญในสมณศักดิ์ จนครั้งสุดท้ายดำรงสมณศักดิ์เป็นที่ "หม่อมเจ้าพระสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัด)" เทียบเท่ากับพระอาจารย์ เมื่อครั้งหม่อมเจ้าพระพุทธบาทปิลันทน์ (ทัด) ได้ครองวัดระฆังฯ ในราวปี พ.ศ.2407 ท่านดำริสร้างพระพิมพ์ให้ครบ 84,000 องค์ ตามจำนวนพระธรรมขันธ์ตามคติโบราณนิยม ส่วนหนึ่งเพื่อแจกผู้มีจิตศรัทธาไว้เป็นเครื่องคุ้มครองป้องกันภยันตราย อีกส่วนหนึ่งเพื่อบรรจุไว้ในพระสถูปเจดีย์เพื่อเป็นพุทธบูชาและสืบสานพระบวรพุทธศาสนา โดยสร้างเป็น ‘พระพิมพ์เนื้อผงใบลานเผา’ รูปแบบและพิมพ์มีความประณีตงดงามด้วยฝีมือช่างหลวงหรือช่างสิบหมู่ ทั้งยังได้รับความอนุเคราะห์จากพระอาจารย์ คือ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) มอบมวลสารพระสมเด็จวัดระฆังฯ รวมทั้ง "ผงปถมัง" ให้เป็นส่วนผสม นอกจากนี้ยังเมตตาร่วมอธิษฐานจิตปลุกเสกด้วยพระคาถาชินบัญชรอันทรงคุณวิเศษ จึงได้เรียกขานกันในอีกนามหนึ่งว่า “พระเครื่องสองสมเด็จ” ดังนั้น ด้านพุทธคุณล้วนปรากฏเป็นที่ประจักษ์ว่า สูงส่งเทียบเท่าพระสมเด็จฯ ของพระอาจารย์ทีเดียว จากมีผู้เข้าไปเจาะกรุพระเจดีย์ เพื่อหวังทรัพย์สินของมีค่าเท่านั้น ไม่ประสงค์ในพระเครื่อง ท่านเจ้าคุณพระธรรมทานาจารย์ (แนบ สิงหเสนี) ซึ่งอยู่ที่หอไตรฯ ในสระ ซึ่งเป็นเจ้าคณะและควบคุมดูแลในพระอุโบสถในขณะนั้น จึงให้นำพระเครื่องทั้งหมดมาเก็บไว้ในหอไตรฯ จนเมื่อเกิดสงครามอินโดจีน ท่านจึงนำพระเครื่องส่วนหนึ่งมอบให้แก่กระทรวงกลาโหม เพื่อแจกจ่ายแก่ทหารที่จะออกไปปฏิบัติราชการในสนามรบ จนปรากฏพุทธคุณเป็นที่เลื่องลือ พระพุทธบาทปิลันทน์ สามารถแบ่งพิมพ์ทรงออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ โค้งมนแบบเล็บมือ และ รูปทรงสี่เหลี่ยมแบบพระสมเด็จ ขอบพิมพ์และการตัดขอบข้างประณีตได้มาตรฐาน ด้านหลังมีทั้งแบบหลังเรียบและหลังนูน แบบหลังเรียบจะพบกับพิมพ์รูปทรงสี่เหลี่ยม ส่วนแบบหลังนูนจะเป็นทรงโค้งมนแบบเล็บมือ บางองค์ก็มีรอยนิ้วมือปรากฏลางๆ และบางองค์ก็มีการจารหรือลงอักขระ โดยที่พบเห็นจะจารยันต์ตัวเดียว พิมพ์ต่างๆ ของ ‘พระพุทธบาทปิลันทน์’ มีอาทิ พิมพ์ซุ้มประตู, พิมพ์ครอบแก้วใหญ่, พิมพ์เปลวเพลิง, พิมพ์โมคัลลาน์-สารีบุตร, พิมพ์หยดแป้ง และพิมพ์ปิดตา ฯลฯ ซึ่งล้วนเป็นที่นิยมสะสมในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่อง โดยเฉพาะ “พระพุทธบาทปิลันทน์ พิมพ์ซุ้มประตู” ได้รับการยกย่องให้เป็น 1 ในชุดเบญจภาคีพระเนื้อผง ด้วยความงดงามสง่าของพุทธลักษณะพิมพ์ทรง
(ที่มา: สยามรัฐ, พระพุทธบาทปิลันทน์ “พระเครื่องสองสมเด็จ”, 19 มกราคม พ.ศ. 2559)
ราคาปัจจุบัน
15,000
จำนวนผู้เข้าชม
6410 ครั้ง
สถานะ
ยังอยู่
โดย
BAINGERN
ชื่อร้าน
ใบเงินพระเครื่อง
URL
http://www.baingern.99wat.com
เบอร์โทรศัพท์
0660729463
ID LINE
0886194471
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
1. ธนาคารกรุงเทพ / 340-4-154xx-x
กำลังโหลดข้อมูล
หน้าแรกลงพระฟรี